ชื่อสมุนไพร |
กระชาย
|
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หัวสะแอน กระแอน ระแอน (เหนือ) จี๊ปู ซีพู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะ ซอเร้าะ เป๊าะสี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขิงแดง ขิงทราย (อีสาน) ว่าน พระอาทิตย์ (กรุงเทพ)
|
ชื่อสามัญ |
Wild Ginger
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Boesenbergia pandurata Holtt.
|
ชื่อวงศ์ |
ZINGIBERACEAE
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
กระชายเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าที่มีรากติดเป็นกระจุกเป็นส่วนที่สะสมอาหาร มีรูปทรงกระบอก ปลายเรียวแหลม ใบรูปรีปลายแหลม โคนแหลมหรือมน ดอกเป็นช่อสีม่วง เหลือง ขาว หรือขาวอมชมพู
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
เหง้า ราก
|
สารสำคัญ |
สารเคมีที่พบในกระชายมี boesenbergin A, boesenbergin B, panduratin A, Panduratin B1, pandarutin B2, cardamonin, pinocembrin,pinostrobin และ Alpinetin เป็นต้น
|
สรรพคุณทางยา |
เหง้าใต้ดิน แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร เหง้าและราก แก้บิดมูกเลือด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก ใบ บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ
|
พันธุ์ที่ปลูก |
พันธุ์ปลูกทั่วไป
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เหง้าปลูก
|
ฤดูปลูก |
ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน)
|
การปลูก |
ใช้ระยะปลูก (ต้นxแถว) 40-60 ซม. หลุมปลูกกว้าง x ยาว x ลึก 15x15x15 ซม. ปลูก 1 เหง้า/หลุม เหง้าพันธุ์ที่ใช้ประมาณ 6,667 เหง้า/ไร่
|
อายุเก็บเกี่ยว |
อายุ 5-6 เดือน หลังปลูก โดยเก็บเกี่ยวเหง้าที่แก่เต็มที่
|
ฤดูเก็บเกี่ยว |
ฤดูแล้ง (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน)
|
ผลผลิต |
เหง้าสด 2,500 กก./ไร่
|
แหล่งอ้างอิง |
ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544) พิมพ์ครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จำกัด , 2544.
|
|
วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง. “การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ 5,7-DMF “ วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2528.
|
|
http://www.tungsong.com/samunpai/drug/2_Krachay/krachay.html
|
|
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_07_1.htm
|
|
http://www.the-than.com/samonpai/P/2.html
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |