|
- ที่มาชื่อสวนสมุนไพรฯ
"สวนสมุนไพรไภษัชยพฤกษ์แม่โจ้"
คำว่า "ไภษัชย" หมายถึง พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภา พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรค คำว่า "พฤกษ์" หมายถึง พรรณไม้สมุนไพรนานาชนิด คำว่า "แม่โจ้" หมายถึง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดอกไม้ประจำสวน คือ ดอกอินทนิลน้ำ เป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
| | | | | | |
- เนินฤาษี
"ฤาษี 6 ตน"
1. "ฤาษีชื่อ ปัพพะตัง" บริโภค ผลดีปลี เชื่อว่า ระงับอชิณโรค
2. "ฤาษีชื่อ อุธา" บริโภค รากช้าพลู เชื่อว่า ระงับ อาการเมื่อยขบ
3. "ฤาษีชื่อ บุพเทวา" บริโภค เถาสะค้าน เชื่อว่า ระงับ เสมหะ และวาโย
4. "ฤาษีชื่อ บุพพรต" บริโภค รากเจตมูลเพลิง เชื่อว่า ระงับ โรคอันบังเกิดแต่ดี
5. "ฤาษีชื่อ มหิทธิรรม" บริโภค เหง้าขิง เชื่อว่า ระงับ ตรีโทษ
6. "ฤาษีชื่อ มุรทาธร" เป็นผู้ประมวลสรรพยา ทั้ง ๕ เข้าด้วยกัน (ดอกดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง เหง้าขิง) ให้ชื่อว่า เบญจกูล
|
|
|
| | | | |
| | |
|
-
ฤาษีดัดตน 15 ท่า
1.
"ท่าฤาษีดัดตนนวดบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า 7 ท่า" ประโยชน์
เพื่อใช้นวดถนอมสายตา 2.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมข้อมือและแก้ลมในลำลึงค์" ประโยชน์ แก้ลมข้อมือและลมในลำลึงค์ เป็นการบริหารข้อมือ
การขมิบก้น และบริเวณฝีเย็บ
3.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ปวดท้องและข้อเท้าและแก้ลมปวดศรีษะ" ประโยชน์
แก้ลมปวดศรีษะ ปวดท้องและข้อเท้า ช่วยระบบไหลเวียนของเลือดไปที่ศรีษะและแขน
4. "ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมเจ็บศรีษะและตามัว
และแก้เกียจ" ประโยชน์
แก้ลมเจ็บศรีษะและตามัว เป็นการยืดบริเวณแขน
- 5.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้แขนขัด และแก้ขัดแขน" ประโยชน์
แก้ขัดแขน แขนขัด เป็นการบริหารหัวไหล่และต้นแขน
ช่วยลดอาการแขนขัด
6.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อน และแก้เข่าขัด" ประโยชน์
แก้กล่อนกษัย แก้ขัดเข่า เป็นการบริหารบริเวณเข่า
หลังเอว (คำว่า "กล่อน" คือความเสื่อม "กล่อนกษัย" คือ โรคเรื้อรัง
มีความเสื่อมของอวัยวะ)
7. "ท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อนปัตคาต
และแก้เส้นมหาสนุกระงับ" ประโยชน์
แก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหาสนุกระงับ มีผลที่อก และขา
ถ้าหากยืนก็ทำท่าแก้กล่อนปัตคาตท่าเดียว หากนั่งก็ทำต่อเนื่องได้เลย
("กร่อนปัตคาต" หมายถึง ภาวะอาการขัดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ
อันเนื่องมาจากความเสื่อมจากการใช้งานผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเลือดภายใน)
8.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมในแขน" ประโยชน์ แก้ลมในแขน เป็นการบริหารส่วนแขน ข้อมือ และนิ้วมือ
9. "ท่าฤาษีดัดดำรงกายอายุยืน" ประโยชน์ ช่วยระบบขับถ่าย
เป็นการบริหารขาและเข่า มีการยืดร่างกาย ทดสอบการทรงตัว
10. "ท่าฤาษีดัดตนแก้ไหล่ ขา และแก้เข่า ขา" ประโยชน์
แก้ไหล่ ขา ขาขัด เป็นการบริหารเอว อก ขาไหล่
11. "ท่าฤาษีดัดตนแก้โรคในอก" ประโยชน์
แก้โรคในอก ทำให้ปอดแข็งแรง เป็นการผายปอด
บริหารบริเวณ อก ไหล่
12.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ตะคริวมือตะคริวเท้า" ประโยชน์
แก้ตะคริวมือตระคิวเท้า เป็นการบริหารขา เข่า และข้อเท้า
13.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ตะโพกสลักเพชรและแก้ไหล่ตะโพกขัด" ประโยชน์
แก้ตะโพกสลักเพชร แก้ไหล่ ตะโพกขัด เป็นการบริหารไหล่ สะโพกและหลัง
14.
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมเลือดนัยน์ตามัวและแก้ลมอันรัดทั้งตัว" ประโยชน์
แก้ลมรัดทั้งตัวและลมเลือดนัยน์ตามัว เป็นการบริหารส่วน คอ ขา และหน้าอก
15. "ท่าฤาษีดัดตนแก้เมื่อยปลายมือปลายขา" ประโยชน์
แก้เมื่อยปลายมือ และปลายเท้า เป็นการบริหาร ส่วนเอว เข่า ขา และคอ
14. ตะโพกขัด เป็นการบริหารไหล่
สะโพกและหลัง"ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมเลือดนัยน์ตามัวและแก้ลมอันรัดทั้งตัว" ประโยชน์
13. แก้ตะโพกสลักเพชร
แก้ไหล่"ท่าฤาษีดัดตนแก้ตะโพกสลักเพชรและแก้ไหล่ตะโพกขัด" ประโยชน์
"ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมในแขน"("กล่อนปัตคาต" หมายถึง
ภาวะอาการขัดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ อันเนื่องมาจากความเสื่อม
การใช้งานผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นเลือดภายใน)
8. แก้ลมในแขน เป็นการบริหารส่วนแขน
ข้อมือ และนิ้วมือ ประโยชน์
9. "ท่าฤาษีดัดตนดำรงกายอายุยืน" ประโยชน์
ช่วยระบบขับถ่าย เป็นการบริหารบริเวณขาและเข่า
แก้กล่อนปัตคาต และแก้เส้นมหา
7. หลัง เอว (คำว่า "กล่อน" คือ ความเสื่อม
"กล่อนกษัย" คือ โรคเรื้อรัง มีความเสื่อมของอวัยวะ)"ท่าฤาษีดัดตนแก้กล่อนปัตคาต
และแก้เส้นมหาสนุกระงับ" ประโยชน์
3. เป็นการบริหารข้อมือ การขมิบก้น
และบริเวณฝีเย็บ"ท่าฤาษีดัดตนแก้ปวดท้องและข้อเท้าและแก้ลมปวดศรีษะ" ประโยชน์
แก้ลมเจ็บศรีษะและตามัว
ข้อเท้าช่วยระบบไหลเวียนของเลือดไปที่ศรีษะและแขน
4. "ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมเจ็บศรีษะและตามัว
และแก้เกียจ" ประโยชน์
1.
เพื่อใช้นวดถนอมสายตา"ท่าฤาษีดัดตนนวดบริเวณกล้ามเนื้อใบหน้า 7 ท่า" ประโยชน์
2.
แก้ลมข้อมือและลมในลำลึงค์"ท่าฤาษีดัดตนแก้ลมข้อมือและแก้ลมในลำลึงค์" ประโยชน์
| | | | | | |
| - บทสรุปผู้บริหาร
โครงการสวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ ได้มีการริเริ่มและประสานงานโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา โดยมีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการเพื่อสร้างสวนสมุนไพร ในการรองรับการเรียนการสอนด้านสมุนไพรของหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นหลักสูตรสาขาวิทยาการสมุนไพร ซึ่ง การจัดทำหลักสูตรอยู่ระหว่างการปรับข้อมูลตามเกณฑ์ที่มาตรฐานคุณภาพ (TQF) คาดว่าจะรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2554) การจัดสวนสมุนไพรฯ ดำเนินการในพื้นที่ สวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8 ไร่ โดยมีแนวคิดการจัดสวนสมุนไพรตามพิกัดยาไทย ซึ่งมีพืชสมุนไพรต่างๆ ที่จัดเป็นกลุ่ม ตามตำรับยาแผนโบราณ ที่มีการอ้างอิงในการเรียนแพทย์แผนไทย สภาเภสัชกรรมไทย แต่ดั้งเดิมซึ่งในสวนสมุนไพรที่อื่นไม่ได้ทำ ถือเป็นจุดเด่นของสวนสมุนไพรฯที่จัดทำ นอกจากนี้ยังมีส่วนของกลุ่มสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐานหรือสมุนไพรประจำบ้าน ที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้จำนวน 61 พืช สมุนไพรล้านนาและสมุนไพรอื่นๆ ภายในพื้นที่สวนจัดวางตำแหน่งตามเส้นทางเดินศึกษาภายในสวน ขณะเดียวกันผู้เข้าชมสวน สามารถที่จะศึกษาพันธุ์กล้วยไม้หายาก กล้วยไม้ใหญ่-เล็กที่สุดในโลก ภายในโดมศูนย์กลางของสวนและกล้วยไม้อื่นๆ ตามเส้นทางเดินได้ควบคู่กันไป ในการดำเนินการจัดสวนสมุนไพรซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ ได้กำหนดการดำเนินการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน โดยมีการดำเนินการในส่วนที่หนึ่งก่อนมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ทำเส้นทางเดินครบรอบ จัดปลูกต้นพืชสมุนไพรในพื้นที่ จัดทำซุ้มฤาษี และพระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภา และดูแลรักษา ในปัจจุบันดำเนินการไปแล้วประมาณ 80 % คงเหลือการเพิ่มเติมต้นไม้ จัดทำสวนและตกแต่งความสวยงามเพิ่มเติม คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดสวนให้เข้าชมได้ในช่วง ปลายเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ 2553 นี้
- ชื่อโครงการ
โครงการ สวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา
- หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันทั่วโลกมีความสนใจในเรื่องสมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการรักษาสุขภาพได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกที่ตื่นตัวกับการนำผลผลิตพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย จึงได้มีการค้นคว้าพัฒนานำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์สูงสุดในหลายด้าน อาทิเช่น อาหาร ยารักษาโรค และเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยนำเอาองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มาพัฒนารูปแบบการใช้ประโยชน์ การบรรจุ การแปรรูปและการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ให้ทันสมัยสอดคล้องกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคเศรษฐกิจพอเพียง ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยนำเข้าสมุนไพรจากต่างประเทศประมาณปีละ 20,000 ล้านบาท มีการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศปี 10,000 ล้านบาท ส่งออกสมุนไพรสู่ตลาดโลกปีละ 1,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในปี 2551 มูลค่าการผลิตสมุนไพรไทยเพื่อลดการนำเข้า คิดเป็นมูลค่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพสมุนไพรไทยคิดเป็นมูลค่าจำนวน 7,000 ล้านบาทต่อปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้เล็งเห็นว่าในประเทศไทยนั้นเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของสมุนไพรที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และคนไทยรู้จักใช้สมุนไพรและมีภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีค่ายิ่ง สมควรแก่การรักษาไว้ให้คงอยู่กับคนไทยตลอดไป มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถานศึกษาทางการเกษตร จึงสมควรที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พืชสมุนไพร โดยจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ (Learning Organization) ในเรื่องของสมุนไพรอย่างครบวงจร เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ได้รับความรู้เห็นคุณประโยชน์ของสมุนไพร ในการนำไปใช้ประโยชน์ในการพึ่งพาตนเอง ต่อสังคมและประเทศชาติ อันจะเป็นการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นทางสมุนไพรให้คงอยู่ชั่วลูกหลานตลอดไป เนื่องมหามงคลวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงได้จัดทำ สวนสมุนไพรมหาวิทยาลัยแม่โจ้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครบรอบพระชนมายุ 80 พรรษา ขึ้น ในพื้นที่โครงการสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ โดยจะเป็นส่วนของพื้นที่สวนสมุนไพรประมาณ 8 ไร่ ในพื้นที่สวนสมุนไพรจะมีการรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรนานาชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมุนไพรล้านนาบางชนิดที่หาได้ยากมาปลูกไว้ เป็นหมวดหมู่ตามสรรพคุณหรือประโยชน์ทางการแพทย์แผนไทย โดยมีป้ายชื่อสมุนไพรและสรรพคุณเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรแก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชน และเกษตรกร ผู้ที่มีความสนใจ ได้มาศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
- วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดสร้างสวนสมุนไพร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวาระพระชนมายุครบ 80 พรรษา และเพื่อเป็นศูนย์กลางการรวบรวมสะสมและอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรอีกแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีสมุนไพรตามพิกัดยาไทยหลากหลายชนิด สมุนไพรหายาก และสมุนไพรเศรษฐกิจ อื่นๆ 2.เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนการผลิตนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ในสาขาวิชาวิทยาการสมุนไพรและสาขาที่เกี่ยวข้อง 3.เพื่อใช้เป็นแหล่งเผยแพร่ให้ความรู้ ในด้านพฤกษศาสตร์และพันธุ์สมุนไพร ตลอดจนการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านสมุนไพร ให้แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ 4.เพื่อเป็นแหล่งปลูกฝังทัศนคติจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พืชสมุนไพรและสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 5.เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ อีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่
- กลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์
1.นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต เกษตรศาสตร์ (สหวิทยาการ) สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร และหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง นักเรียน เยาวชนและประชาชนทั่วไป นักศึกษาแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทย ประเภทเภสัชกรรมไทย เวชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย และนักศึกษาสาขาเภสัชกรรมของมหาวิทยาลัยต่างๆ 2.กลุ่มผู้ปลูกและแปรรูปพืชสมุนไพรจังหวัดเชียงใหม่ และในจังหวัดใกล้เคียง 3.กลุ่มเกษตรผู้ปลูกพืชอินทรีย์และพืชปลอดสารพิษ 4.ผู้ประกอบธุรกิจสุขภาพ
- สถานที่ดำเนินโครงการ
ในพื้นที่โครงการสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า จำนวน 8 ไร่
- หน่วยงานที่รับผิดชอบ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีสวนสมุนไพร ตามพิกัดยาไทยเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา 2.มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีศูนย์กลางการรวบรวมสะสมและอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรอีกแห่งหนึ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยที่มีสมุนไพรหลากหลายชนิด สมุนไพรหายาก และสมุนไพรเศรษฐกิจ 3.มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแหล่งเผยแพร่ใความรู้ ในด้านพฤกษศาสตร์และพันธุ์สมุนไพร ตลอดจนการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านสมุนไพรเศรษฐกิจ 4.มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแหล่งสนับสนุนการผลิตนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต เกษตรศาสตร์ (สหวิทยาการ) สาขาวิชาวิทยาการสมุนไพร และหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง นักเรียน เยาวชนและประชาชนทั่วไป และนักศึกษาแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทย ประเภทเภสัชกรรมไทย เวชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย นักศึกษาสาขาเภสัชกรรมของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 5.มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแหล่งปลูกฝังทัศนคติจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พืชสมุนไพรและสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร ให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป 6.มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่
|
|
- ประมวลภาพกิจกรรมที่ดำเนินงานสวนสมุนไพรไภษัชยพฤกษ์แม่โจ้
| |
| |
- คณะกรรมการดำเนินงาน
| | |
|
|
|