ชื่อสมุนไพร |
กระเจี๊ยบแดง
|
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แกงแคง (เชียงใหม่) ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง (เหนือ) กระเจี๊ยบแดง ส้มตะเลงเครง (ตาก) กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง) ส้ม พอดี (อีสาน)
|
ชื่อสามัญ |
Rosslla, Red Sorrel, Jamaica Sorrel, Kharkade or karkade, Vinuela, Cabitutu
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Hibiscus sabdariffa Linn.
|
ชื่อวงศ์ |
MALVACEAE
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
กระเจี๊ยบแดงเป็นพืชล้มลุก และเป็นพืชไวแสง มีความสูง 1-2 เมตร ลำต้นผิวเรียบ สีแดงอมม่วง ริ้วประดับและกลีบเลี้ยงอวบน้ำสีแดง ใบออกแบบสลับ เป็นใบเดี่ยวมีหลายรูปแบบ แยกออกเป็นแฉกรูปหอกปลายแหลมดอกเป็นดอกเดี่ยวสีชมพู หรือเหลืองอ่อน โคนกลีบสีแดง ผลเป็นผลแห้งลูกกลมปลายยาวแหลม ภายในมีเมล็ดสีดำรูปไต
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
กลีบเลี้ยง กลีบรองดอก (Calyx) สดหรือแห้ง
|
สารสำคัญ |
กระเจี๊ยบแดงมีกรดหลายชนิด เช่น citric acid, tartaric acid, malic acid และสารอื่น ๆ กลีบเลี้ยงมีสาร anthocyanin (ทำให้มีสีม่วงแดง)
|
สรรพคุณทางยา |
กลีบเลี้ยงของดอก เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ผล ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาแผลในกระเพาะ เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
|
พันธุ์ที่ปลูก |
พันธุ์ซูดาน
|
การขยายพันธุ์ |
โดยใช้เมล็ดเพาะปลูก
|
ฤดูปลูก |
ปลายฝน (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม)
|
การปลูก |
ใช้ระยะปลูก (ต้น x แถว) 1 x 1.2 ม. หยอด 3-5 เมล็ด ใช้อัตราพันธุ์ 300 กรัม/ไร่ เมื่ออายุ 14-20 วัน หลังงอกให้ถอนแยกให้เหลือ 1-2 ต้น/หลุม
|
อายุเก็บเกี่ยว |
อายุ 3-4 เดือน หลังปลูก
|
ฤดูเก็บเกี่ยว |
ฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายน-มกราคม)
|
ผลผลิต |
กลีบดอกกระเจี๊ยบแห้ง 50-60 กก./ไร่ (อัตราแปรสภาพน้ำหนักสด : แห้ง = 10 : 1) เมล็ดกระเจี๊ยบแดงแห้ง 25-30 กก./ไร่
|
แหล่งอ้างอิง |
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01.htm
|
|
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_herbal/search_detail.php
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |