ชื่อสมุนไพร |
ฟ้าทะลายโจร
|
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
|
ชื่อสามัญ |
Creat, Green chireta Kalmegh, King og bitters, Kirayat
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall. ex Ness.
|
ชื่อวงศ์ |
ACANTHACEAE
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
ฟ้าทะลายโจรเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านจำนวนมากใบมีสีเขียวเข้ม ใบเรียวปลายแหลม ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และสีม่วงแดง ฝักเป็นกระเปาะ คล้ายต้นต้อยติ่ง มีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ใบและลำต้น (เหนือพื้นดิน)
|
สารสำคัญ |
มีสารที่มีรสขม andrographolide, deoxyandrographolide, neoandrographolide และ paniculide เถ้าของพืชมีโปแตสเซียมสูง
|
สรรพคุณทางยา |
ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง แก้ไข้ทั่วๆ ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหาร
|
พันธุ์ที่ปลูก |
พันธุ์ปลูกทั่วไป
|
การขยายพันธุ์ |
ใช้เมล็ดหว่านหรือหยอดเป็นหลุม โดยนำเมล็ดแช่น้ำอุ่น 3-5 นาที ก่อนหว่าน หรือหยอด
|
ฤดูปลูก |
ต้นฤดูฝน
|
การปลูก |
ปลูกโดยใช้เมล็ดโรยเป็นแถวในร่องปลูก ระยะห่างระหว่างแถว 40 ซม.
|
อายุเก็บเกี่ยว |
อายุ 3-4 เดือน (110-120 วัน) หลังปลูกหรือระยะที่ฟ้าทะลายโจรเจริญเต็มที่ และเริ่มออกดอก ตัดลำต้นเหนือดิน 10-15 ซม. และตัดซ้ำต่อไป เมื่ออายุ 3-4 เดือน หลังตัด
|
ฤดูเก็บเกี่ยว |
ฤดูฝน
|
ผลผลิต |
ผลผลิตต้นและใบสดประมาณ 2,000-3,000 กก./ไร่ (อัตราแปรสภาพน้ำหนักสด : แห้ง = 4-9 : 1)
|
แหล่งอ้างอิง |
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_07_8.htm
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |