ชื่อสมุนไพร |
กะเพรา
|
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กอมก้อ , กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน, กะเพราขาว, กะเพราแดง(ภาคกลาง) ห่อกวอซู , ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
|
ชื่อสามัญ |
Holy Basil, Sacred Basil
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ocimim sanctum Linn.
|
ชื่อวงศ์ |
LABIATAE
|
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
กะเพราจัดเป็นพืชไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีดอกเป็นชั้น ๆ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรี ปลายใบแหลมหรือมนผลเป็นผลแห้ง 4 ผล มีขนาดเล็กสีขาว ถ้าเป็นกะเพราขาวใบและลำต้นจะมีสีเขียว แต่ถ้าเป็นกะเพราแดงใบและลำต้นจะมีสีแดงอมเขียว
|
ส่วนที่ใช้เป็นยา |
ใบสดหรือแห้ง รากและต้น
|
สารสำคัญ |
ใบสดมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย ocimol, eugenol, methylChavicol และ linalool
|
สรรพคุณทางยา |
ใบ และยอด ทั้งสดและแห้ง ทั้งต้น แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ) ใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อ แน่จุกเสียดและปวดท้อง แก้ไอและขับเหงื่อ ขับพยาธิ ใช้ไล่ หรือฆ่ายุง เป็นสมุนไพร ไล่แมลงวันทอง
|
พันธุ์ที่ปลูก |
พันธุ์ที่ปลูกมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์กะเพราขาว และพันธุ์กะเพราแดง ปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์การค้า
|
การขยายพันธุ์ |
โดยการเพาะเมล็ด
|
ฤดูปลูก |
ปลูกได้ตลอดปี
|
การปลูก |
นำเมล็ดไปหว่านในกระบะ แล้วย้ายกล้าไปปลูกอีกครั้งหนึ่ง ใช้ระยะปลูก(ต้น x แถว) 5x15 ซม. ใช้เมล็ดพันธุ์ 2 กก./ไร่
|
อายุเก็บเกี่ยว |
30 วัน หลังปลูก โดยเก็บใบกะเพราที่แก่เต็มที่ ตัดออกทั้งกิ่งเพื่อให้แตกใหม่
|
ฤดูเก็บเกี่ยว |
เก็บเกี่ยวได้ตลอดปี
|
ผลผลิต |
ใบสดทั้งกิ่งประมาณ 1,600 กก./ไร่
|
แหล่งอ้างอิง |
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_11.htm
|
|
http://th.wikipedia.org/wiki/กะเพรา
|
|
http://www.it-gateways.com/charoenvej/Herb/basil.htm
|
|
https://medthai.com/กะเพรา/
|
|
http://www.xn--b3c4aexgf5grbyipe.com/กะเพรา/
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| |